ทำไมโรงงานจึงให้ความสำคัญกับการกำจัดปลวก และกำจัดแมลง

บริษัทกําจัดปลวก


วิธีกำจัดปลวก กำจัดแมลง และสัตว์พาหะนำเชื้อโรค ภายในโรงงาน

หากพูดถึงโรงงาน ทุกคนก็จะนึกถึงอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้โรงงานเป็นฐานการผลิตถึงเรียกว่าโรงงานส่วนคำนิยามตามกฎหมาย คือ “โรงงาน” ร่างกฎหมายนี้เขียนว่า หมายถึง อาคารสถานที่ที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากกฎหมายเดิมที่กำหนดว่า สถานที่เครื่องจักร 5 แรงม้า หรือคนงาน 7 คนขึ้นไป และในปัจจุบันโรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการขยับขยาย เติบโตกันอย่างรวดเร็วมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต ในส่วนสิ่งที่โรงงานอยากได้มากที่สุดในการรับรองและขยายธุรกิจนั้น คือ มาตรฐาน ISO ส่วนใหญ่โรงงานที่ Concern ด้าน กำจัดแมลงคือโรงงานที่ผลิตอาหาร และมีมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารควบคุม เช่น GMP, HACCP, ISO 22000 หรือมาตรฐานส่งออกอย่าง BRC, IFS และถ้าโรงงานของคุณยังมีสัตว์พาหะนำเชื้อโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบและอีกมากมาย คุณจะจัดการกับสัตว์เหล่านี้อย่างไร

 

สัตว์และแมลงเป็นพาหะนำเชื้อโรค สร้างความเสียหาย

สัตว์พาหะนำโรค หรือสัตว์รบกวนที่สร้างความเสียหายต่อสินค้าในโรงงานอุสาหกรรม ได้แก่ ปลวก, มด, แมลงสาบ, แมลงวัน, แมลงบินอื่นๆ, หนู, จิ้งจก รวมไปถึงนก ซึ่งหากโรงงานไม่มีระบบการควบคุมหรือการจัดการ ให้โรงงานอยู่ในหลักสุขลักษณะที่ดี สัตว์รบกวนเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายต่อโรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็น การพบหนูกัดแทะสายไฟเครื่องจักรจนทำให้การผลิตชะงัก การพบมูลหนูในพื้นที่ไลน์ผลิตที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน, การพบมดในเครื่องจักรผลิตอาหาร, การพบชิ้นส่วนแมลงในสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ซึ่งปัญหาแมลงและสัตว์รบกวนเหล่านี้สามารถควบคุมได้ด้วยการมีระบบจัดการที่ดี ทั้งการปรับปรุงด้านสุขลักษณะ(หรือสุขาภิบาลได้)ของทางโรงงานเพื่อไม่ให้เอื้อต่อการมีปัญหาในพื้นที่ และการมีระบบควบคุมจัดการแมลงและสัตว์พาหะโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

สามารถติดต่อสอบถามบริการกำจัดปลวก กำจัดมด และรับคำปรึกษาวิธีกำจัดปลวกด้วยโฟมกำจัดปลวก
แบบมืออาชีพได้ฟรี ไม่มีเงื่อนไข

Line Fb

รับโปรโมชั่นผ่อน 0% 10 เดือน ถึง ธันวาคม 2566

คลิก! ดูโปรโมชั่นเพิ่มเติม

ประเภทของสัตว์พาหะนำเชื้อโรคและแมลงน่ารำคาญ ที่โรงงานอุตสาหกรรมควรระวัง

 

1. แมลงวัน
แมลงวันถือเป็นมลงรบกวนและเป็นแมลงพาหะในการนำโรค ซึ่งมีโอกาสพบได้ทั่วไป สำหรับในพื้นที่อุตสาหกรรมอาหารมีโอกาสพบแมลงวันบ้าน, แมลงวันหัวเขียว, แมลงวันหลังลาย หรือมีโอกาสพบแมลงวันผลไม้ได้ เนื่องจากมีการนำวัตถุดิบมาประกอบอาหาร ภายหลังที่ปรุงอาหารเสร็จหากไม่มีการจัดการขยะที่ดี แหล่งขยะเหล่านั้นสามารถเป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีให้กับแมลงวัน ดังนั้นการจัดการที่แหล่งเพาะพันธุ์ โดยต้องมีระบบในการจัดการแหล่งทิ้งขยะ หรือบริเวณที่เป็นจุดทิ้งขยะย่อยๆในพื้นที่ไลน์ผลิต ให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันยังแหล่งอาหาร และใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าววางไข่เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

วิธีการจัดการแมลงวัน
แมลงวันสามารถจัดการได้หลายวิธี ประกอบไปด้วย 3 วิธีการหลัก

1. วิธีการทางกายภาพ
• ลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันในพื้นที่ (จัดการขยะให้อยู่ในระบบการจัดการที่ตรงตามหลักสุขลักษณะที่ดี
• การติดตั้งม่านพลาสติก หรือม่านอากาศเพื่อลดการเข้าพื้นที่ไลน์ผลิตของแมลงวัน
• การสร้างห้องคลีนรูมเป่าลมก่อนเข้าไลน์ผลิตเพื่อจัดการสิ่งปนเปื้อนที่อาจติดไปกับตัวพนักงานไลน์ผลิต

2. การจัดการเชิงกล
• การเพิ่มกับดักเพื่อดักจับแมลงวันในพื้นที่ไลน์ผลิต ควรเลือกใช้กัดักที่มีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของชิ้นส่วนแมลง

3. การจัดการโดยใช้สารเคมี
• สำหรับวิธีการนี้ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแมลงและสัตว์พาหะเป็นผู้ออกแบบระบบการจัดการร่วมกับโรงงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการที่มีประสิทธิภาพที่สุด

 

2. แมลงสาบ
แมลงสาบที่สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่อุสาหกรรมอาหารมีหลากหลายชนิด เช่น แมลงสาบอเมริกัน, แมลงสาบเยอรมัน, แมลงสาบสีน้ำตาล หรือแมลงแกลบที่ถูกจัดว่าเป็นแมลงสาบชนิดหนึ่งก็สามารถพบได้ สาเหตุหลักๆ ของการพบแมลงสาบเกิดจาก 2 สาเหตุด้วยกันคือ ระบบท่อที่เดินภายในโรงงานทั้งหมด และมีแมลงสาบติดมากับวัตถุดิบหรือสินค้าที่นำเข้าโรงงาน

การจัดการแมลงสาบ
การป้องกันหรือกำจัดแมลงสาบ สามารถเริ่มต้นง่ายๆด้วยการปรับปรุงพื้นที่ให้ตรงตามหลักสุขลักษณะที่ดี เช่น การปิดรอยแตกอาคาร, การทำระบบท่อภายในเป็นระบบปิด, เพิ่มตะแกรงถี่กั้นท่อระบายน้ำภายในอาคาร หรือจัดการแหล่งทิ้งขยะภายในและภายนอกให้ไม่เป็นแหล่งอาหารของแมลงสาบ รวมไปถึงการจัดการโดยใช้สารเคมีควบคุมกำจัดแมลงสาบซึ่งจำเป็นต้องเลือกสารเคมีที่ปลอดภัย และวิธีการที่ถูกต้องมาใช้จัดการ เนื่องจากแมลงสาบแต่ละชนิดมีการจัดการที่แตกต่างกันเพื่อให้ประสิทธิภาพของการจัดการแมลงดีที่สุดจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแมลงเป็นผู้ช่วยในการควบคุมปัญหา

 

สอบถามข้อมูล

 

3.หนู
หนูพบอยู่ทั่วไปตามที่อยู่อาศัยบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและโกดังเก็บของเป็นสัตว์พาหะนำเชื้อโรคมากกว่า 20 ชนิดที่ติดต่อไปสู่คน จึงถือได้ว่าหนูเป็นสัตว์ ที่ปัญหาหลักสำคัญทางด้านสาธารณสุข

หนูสามารถก่อความเสียหายที่โครงสร้างอาคาร, เครื่องจักร รวมไปถึงวัตถุดิบหรือสินค้าภายในโรงงาน ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงงาน จึงจำเป็นต้องมีการจัดการหนูที่ดี เพื่อลดการเกิดปัญหาปนเปื้อน หรือเครื่องจักรเสียหายจากการทำลายของหนู โดยวิธีการป้องกันเบื้องต้นควรทำให้พื้นที่โรงงานเป็นพื้นที่ปิด เพื่อป้องกันหนูจากรอบนอกโรงงานเข้าสู่ภายในพื้นที่ นอกจากนี้การสังเกตร่องรอยต่างๆของหนูช่วยให้ทางโรงงานจัดการปัญหาหนูได้อย่างถูกต้องและตรงจุดมากยิ่งขึ้น
วิธีสังเกตสำรวจหนูเข้ามาอาศัยในโรงงาน

วิธีสำรวจหนูในโรงงาน
1. สังเกตจากมูลหนู เนื่องจากทุกก้าวเดินหนูมีการถ่ายมูลตลอดเส้นทาง ดังนั้นหากพบมูลหนูที่พื้นที่ใด แสดงให้เห็นว่าหนูเดินผ่านพื้นที่บริเวณนั้นๆ

2. สังเกตคราบดำ หรือรอยถูของหนู ทุกๆครั้งที่หนูเดินทางหาอาหารจะมีการเดินเลียบกำแพงเสมอ ดังนั้นบริเวณกำแพงใดที่มีคราบดำเป็นแถบๆ สัณนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่าอาจเป็นคราบถูที่หนูเดินผ่านบริเวณนั้นๆ

3. รอยกัดแทะ ฟันของหนูค่อนข้างแข็งแรงมาก ดังนั้นหนูจึงกัดแทะสิ่งต่างๆได้หลากหลาย หากพบปัญหาหนูภายในพื้นที่เก็นวัตถุดิบหรือสินค้า สิ่งเหล่านั้นอาจจะโนหนูทำลายได้เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารชั้นดี

4. ช่องโหว่ภายในอาคาร, รู หรือโพรงที่หนูอยู่อาศัย หนูสามารถอยู่ได้ในพื้นที่ใต้อาคาร ในดิน หรือในอาคาร ดังนั้นหากพื้นที่มีช่องโหว่ภายในอาคารก็อาจเป็นช่องทางที่หนูใช้เข้า – ออกภายในอาคารได้

 

4. มด
แมลงกินซากซึ่งกินอาหารได้หลากหลาย ทั้งน้ำตาล และโปรตีน ส่วนมากการพบมดภายในอาคารเกิดจากการที่มีรังมดอยู่ที่ดินรอบนอกอาคาร ดังนั้นหากพบมดอยู่บริเวณใดในพื้นที่ไลน์ผลิต มีความจำเป็นต้องหาสาเหตุของมดให้เจอเพื่อจัดการปัญหามด ก่อนที่มดจะปนเปื้อนในสินค้าหรือวัตุดิบประกอบอาหาร

วิธีการควบคุม ป้องกันและกำจัดมดเบื้องต้น
โดยกำจัดรังมดรอบบริเวณอาคารโรงงานทั้งภายในภายนอกและใช้น้ำหล่อชั้นวางวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อป้องกันมดไต่ตามขาชั้นวางวัตถุดิบ การวางชั้นวัตถุดิบต้องไม่ติดฝาผนังหรือสิ่งของอื่นที่อาจเป็นทางเดินของมดมาที่เก็บอาหาร นอกจากนี้มีการกำจัดอาหารและที่อยู่อาศัยของมด

การจัดการมด
สามารถจัดการและป้องกันมดเบื้องต้นได้โดยการปิดรอยแตกตัวอาคาร เพื่อป้องกันมดจากรังนอกอาคารเดินเข้าไปหาอาหารภายในอาคาร โดยส่วนมากมดนิสัยเดินหาอาหารตามตัวหน้า หากมดที่นำทางเจอแหล่งอาหารก็ส่งผลให้มดตัวอื่นๆในรังเดินขบวนเข้าสู่ภายในอาคารเช่นกัน และเพื่อการป้องกันมดที่ดียิ่งขึ้นควรมีการใช้สารเคมีฉีดป้องกันรอบนอก เพื่อเป็นแนวป้องกัน หรือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหามดภายในอาคารได้

 

5. ปลวก
แมลงสังคมตัวร้ายที่ถือเป็นภัยเงียบของโรงงาน ปัญหาของปลวกคือส่วนมากทางโรงงานไม่ทราบว่ามีปัญหาปลวก พอพบปัญหาอีกครั้งสินค้า, วัตถุดิบ รือโครงสร้างก็ได้รับความเสียเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการจัดการปลวกที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องทำตั้งแต่ระหว่างก่อสร้างอาคาร และภายหลังการสร้างควรมีการป้องกันปัญหาต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ปัญหาปลวกหนักเกินการแก้ไขปัญหา

วิธีการควบคุม ป้องกันและกำจัดปลวก เบื้องต้น
1. การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น การใช้เชื้อรา แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย เป็นต้น
2. การป้องกันโดยใช้สารเคมี การใช้สารเคมีกำจัดปลวก เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารกำจัดปลวกไปในพื้นดิน เช่น ใช้เหยื่อ (Bait) ใช้สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ และกลุ่มอื่นๆ
3. การป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การใช้แผ่นโลหะ โลหะผิวลื่น การใช้เศษหินบด เศษแก้วบด การใช้ไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติ
4. การควบคุมโดยใช้เหยื่อ (Bait) เป็นการที่ทำให้ปลวกตายอย่างต่อเนื่อง เช่น สารควบคุมการเจริญเติบโต (Insect growth regulator) หรือการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์ช้าที่มีคุณสมบัติพิเศษดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน
5. การใช้กับดักแสงไฟ ดึงดูดหรือขับไล่แมลงเม่า เพื่อลดปริมาณที่จะผสมพันธุ์และสร้างรังปลวกใหม่

วิธีการควบคุม ป้องกันปลวก
การป้องกันปัญหาปลวก จำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานของปลวกแต่ละชนิด เนื่องจากปลวกแต่ละกลุ่มมีการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งการจัดการปลวกภาพรวมประกอบดัวย 2 วิธีหลัก

1. การจัดการโดยไม่ใช้สารเคมี ควรเริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคาร ให้ไม่เอื้อต่อการเก็บความชื้นใต้อาคาร เพื่อป้องกันไม่ให้ปลวกที่อยู่ในดินสร้างรังใต้อาคารได้, หรือวัสดุไม้ที่ใช้ภายในโรงงานทั้งหมดควรได้รับการอาบเคมีป้องกันปลวกมาก่อนแล้ว

2. การจัดการโดยใช้เคมี ประกอบไปด้วย 3 วิธีการย่อย

2.1 การจัดการโดยใช้เหยื่อพิษกำจัดปลวก วิธีการนี้เป็นการเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด โดยสารเคมีรูปแบบเหยื่อมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารยับยั้งการเจิรญเติบโดตของปลวก ทำให้ปลวกไม่สามารถลอกคราบได้ จนสุดท้ายรังปลวกก็อาจล่มสลายได้

2.2 การจัดการโดยการทำ Soil Treatment คือการนำเคมีรูปแบบฉีดไปปกคลุมหน้าดินใต้บ้านเพื่อป้องกันและกำจัดปลวกที่อาจสร้างรังอยู่ใต้อาคาร

3. การจัดการโยใช้เคมีฉีดเฉพาะจุด เป็นการนำสารเคมีไปแก้ไขปัญหาปลวกเฉพาะจุดที่พบปัญหาเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้หวังผลการดำจัดมากกว่าการป้องกันปลวก

 

รู้หรือไม่? การจะกำจัดพวกแมลงรบกวนและสัตว์พาหะนำโรคให้สิ้นซากเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นจึงไม่มีใครที่ทำด้วยตนเอง เพราะต้องใช้อุปกรณ์และความเชี่ยวชาญอย่างมากในการจัดการซึ่งฉีดเคมี / ใช้สารเคมีกำจัดปลวก กำจัดแมลง กำจัดสัตว์พาหะนำเชื้อโรคนี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธียอดนิยม ที่โรงงานนิยมทำ เพราะมันง่ายและรวดเร็ว ง่ายในที่นี่หมายถึงบริษัทที่รับกำจัดเรื่องพวกนี้จะออกแบบดูแล แพ็คเกจโปรแกรมการจัดการแมลงและสัตว์พาหะตามมาตรฐานโรงงานของคุณ ซึ่งทางคิง เซอร์วิส เซ็นเตอร์ ก็เป็นผู้นำทางด้านบริการกำจัดปลวก กำจัดแมลงและสัตว์รบกวน โดยทีมงานมืออาชีพ มุ่งเน้นเป็นเลิศด้านคุณภาพงานบริการและความปลอดภัย ถ้าคุณไม่อยากพลาดโอกาสการก้าวหน้าของธุรกิจก็ไม่ควรละเลยกับสิ่งเหล่านี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศไทยค่อนข้างจะมีแมลงรบกวนจำนวนมาก รวมถึงปลวกที่อาศัยอยู่ใต้ดิน ซึ่งอาจจะมาสร้างความเสียหายให้กับสายไฟ หากว่าสายไฟเกิดการชำรุด เป็นจุดเริ่มต้นของการเสี่ยงไฟฟ้ารัดวงจร ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่ต้องให้ความสำคัญกับการกำจัดปลวก และแมลงรบกวน

 

และถ้าหากคุณต้องการตรวจโรงงานว่ามีรังปลวกหรือกองทัพแมลงและสัตว์พาหะนำเชื้อโรคหรือไม่ บริษัท คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา และให้บริการด้านกำจัดปลวก โฟมกำจัดปลวก และแมลงรบกวนต่างๆ โดยทีมงานมืออาชีพ คุณภาพงานบริการและความปลอดภัย ทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะช่วยดูแลปกป้องบ้านของคุณ เมื่อตรวจพบรังปลวก ควรเรียก คิงส์ เซอร์วิส เข้าไปจัดการเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยพร้อมทั้งยังสามารถกำจัดปลวกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

 

สอบถามรายละเอียดบริการกำจัดปลวกเพิมเติมได้ที่
https://kingservice.co.th
โทร. : 02 320 4444
E-Mail: service@kingservice.co.th
Facebook Page: https://web.facebook.com/kingservicecenter
Line: @kingservicecenter
Youtube Channel: kingservicechannel

ดูเรื่องน่ารู้ทั้งหมด next